หนุ่มชาวนาฝืนความจน สร้างตนเป็นเศรษฐี 400 ล้าน มีบริษัท 4 โรงงานให้เช่าอีก 2
หนุ่มชาวนาฝืนความจน สร้างตนเป็นเศรษฐี 400 ล้าน มีบริษัท 4 โรงงานให้เช่าอีก 2 แห่ง
จากลูกชาวนายากจนที่ต้องดิ้นรนหาเงินส่งตัวเองเรียน
พร้อมต้องผ่านงานขายมาสารพัด แต่ด้วยความมุ่งมั่นต้องการมีชีวิตที่ดีขึ้น จนสามารถก่อร่างสร้างฐานของตัวเองได้
กระทั่งกลายเป็นเจ้าของธุรกิจที่มีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 400 ล้าน และมีบริษัทเป็นของตัวเองถึง
4 บริษัท และยังมีโรงงานให้เช่าอีก 2 แห่ง
นักธุรกิจเฟอร์นิเจอร์สำนักงาน คุณคมเดช อาบสุวรรณ์
เจ้าของโรงงานไทยร็อคเฟอร์เทค ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์สำนักงานภายใต้แบรนด์ ‘ROCKY’ ได้ท้าวความถึงอดีตว่า
คุณคมเดชเกิดที่จังหวัดกำแพงเพชร เป็นลูกคนสุดท้อง ครอบครัวทำนา แล้วคุณพ่อคุณแม่มีลูก
7 คน ด้วยความที่ชีวิตตอนเด็ก ๆ ยากจนมากก็เลยมีความฝันว่าอยากจะรวย อยากมีบ้านอยู่
อยากมีรถขับ มีธุรกิจเป็นพันๆล้าน ซึ่งตอนเด็กคุณคมเดชหาเงินใช้เองตั้งแต่อยู่ ป.4-ป.5
ซึ่งพี่สาวทำขนม ส่วนตนเองก็เอาไปขายที่โรงเรียน
หลังจากนั้นพอจบ ม.6 คุณแม่ซึ่งเป็นเสาหลักหาเลี้ยงครอบครัวได้เสียชีวิตลง
จึงตัดสินใจเข้ากรุงเทพฯไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งตอนนั้นมีเงินติดตัวมาเพียง
400 บาท โดยเรียนไปทำงานไปพร้อม ๆ กัน พอมีเงินเหลือก็ส่งไปให้คุณพ่อใช้ เพราะท่านอายุมากแล้ว
ทำงานไม่ค่อยไหว ส่วนที่พักอาศัยตนได้เช่าห้องราคา 800 บาท อยู่กับเพื่อน 8 คน เฉลี่ยคนละร้อยบาท
ซึ่งนับว่าเป็นห้องที่เล็กมาก ไม่สามารถนอนพร้อมกัน 8 คนได้ ก็ต้องผลัดกันนอน เพื่อนก็เลยไปทำงานโรงงานอยู่กะกลางคืน
แล้วกลับมานอนตอนกลางวัน ส่วนตนเองทำงานตอนกลางวันเป็นพนักงานขาย เพราะเชื่อว่างานขายจะสามารถต่อยอดให้เราไปเป็นเถ้าแก่ในอนาคตได้
ดังนั้นจึงตั้งเป้าไว้ว่าจะต้องเป็น ‘ท็อปเซล’ ของบริษัทให้ได้ โดยคุณคมเดชก็สามารถทำยอดขายได้สูงที่สุดเสมอ
จนกระทั่งวันหนึ่งเมื่อคุณคมเดชสมัครเข้าไปเป็นพนักงานขายเฟอร์นิเจอร์สำนักงาน ทำให้เขาเห็นช่องทางของการทำธุรกิจที่สร้างทำกำไรดี
เพราะส่วนต่างของต้นทุนกับราคาขายนั้นสูงมาก เขาจึงตัดสินใจผันตัวเองสู่ผู้ผลิตเอง
โดยใช้เงินที่มีอยู่ประมาณ 10,000-20,000 พร้อมกับใช้วิธีที่ว่าส่งของแล้วขอเบิกเงินเลย
พอได้กำไรมาก็ค่อยๆเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นเรื่อย ๆ และต้องประหยัดอดออมทุกอย่าง เพราะเราไม่ได้มีทุนเยอะเหมือนคนอื่น
ๆ ซึ่งบริษัทที่ก่อตั้งคือ ไทยร็อคเฟอร์เทค จำกัด เริ่มขึ้นเมื่อปี 2539 แต่ถึงอย่างไรก็ตามเจ้านายเก่า
คือคุณนิพนธ์ ยงสงวนชัย เป็นเจ้าของบริษัทดำรงชัย และเป็นคนที่มีบุญคุณกับตนมาก แต่ขณะเดียวกันชีวิตตอนนั้นก็ยังเป็นพนักงานเซลที่บริษัทดำรงชัยอยู่
ไปพร้อมกับเป็นเจ้าของโรงงานด้วย เมื่อถึงจุดหนึ่งก็ต้องขอเจ้านายออกไปบริหารธุรกิจอย่างเต็มตัว
และทุกวันนี้ก็ยังไปกราบเจ้านายเก่าอยู่บ่อยๆ พร้อมกับอุดหนุนสินค้าจากโรงงานเขาด้วย
คือเจ้านายผมทำเฟอร์นิเจอร์เหล็ก ส่วนผมผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ เราก็สั่งซื้อกันไปมา
ปัจจุบันคุณคมเดชมีบริษัทเป็นของตัวเองถึง 4 บริษัท
มูลค่ารวมถึง 400 ล้านบาท ซึ่งแต่ละบริษัทจะทำธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกัน คือ บริษัท
ไทยร็อคเฟอร์เทค จำกัด เป็นผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ บริษัท อินเตอร์เฟอร์นิไลน์ จำกัด
เป็นบริษัทจัดจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ บริษัท ออนสเกล นำเข้าเฟอร์นิเจอร์จากเมืองจีน และบริษัท
เบรน สตีล จำกัด ผลิตชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ส่งออกประเทศญี่ปุ่น และป้อนให้แก่บริษัทไทยร็อกเฟอร์นิเจอร์ด้วย
โดยแต่ละบริษัทจะแยกกันบริหารอย่างชัดเจน บริษัทไหนมีผลประกอบการดีก็สามารถแจกโบนัสให้พนักงานได้มากขึ้นตามไปด้วย
ขณะที่บริษัทไทยร็อคเฟอร์เทคเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ยี่ห้อร็อคกี้
ได้ขยายกิจการไปเรื่อย ๆ แต่มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ประสบปัญหาน้ำท่วมหนัก ความนิยมในเฟอร์นิเจอร์ไม้จึงลดลง
ผู้คนส่วนใหญ่จึงหันมาใช้เฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตจากเหล็กมากขึ้น หลังจากนั้นเราได้รู้จักกับกับบริษัทซังเคอิซึ่งเป็นบริษัทญี่ปุ่น
เขาต้องการให้เราผลิตชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ โดยทางซังเคอิได้นำเครื่องจักรและโนฮาวที่ทันสมัยคือการใช้โรบอตเชื่อมหมด
จัดตั้งบริษัทเบนสตีล ซึ่งผลิตและส่งออกชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ไปญี่ปุ่น เนื่องจากในตลาดเฟอร์นิเจอร์
ถือว่าเราเป็นรายเล็ก เราจึงต้องหาจุดแข็งในการทำตลาด ถ้าเราไปแข่งกับเจ้าใหญ่โอกาสเกิดจะน้อยลง
ดังนั้นจึงเลี่ยงมาแข่งในตลาดออนไลน์ คือนอกจากจะส่งขายตามร้านทั่วไปแล้ว ยังขายผ่านเว็บไซต์ซึ่งถือเป็นช่องทางการตลาดที่ดีและยังมีคู่แข่งน้อยอีกด้วย
แล้วตลาดออนไลน์ก็โตขึ้นเรื่อยๆ เมื่อก่อนส่วนแบ่งการตลาดอาจจะอยู่ที่ 3-5% แต่ปัจจุบันขึ้นไปถึง
10% แล้ว ซึ่งตอนนี้ได้ขายผ่านเว็บไซต์ www.rockyfurniture.com โดยกลุ่มลูกค้าหลักก็จะเป็นผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม
โดยเฉพาะโรงงานญี่ปุ่น
ปัจจุบันคุณคมเดชพยายามผลักดันให้พนักงานมีความตั้งใจ
ให้ได้มีโอกาสเติบโตขึ้นเป็นเจ้าของธุรกิจบ้าง โดยเริ่มจากการดึงลูกน้องที่ไว้ใจขึ้นมาเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท
และถ้าหากใครต้องการออกไปสร้างธุรกิจของตัวเอง เขาก็พร้อมให้คำแนะนำและให้การสนับสนุน
เพราะว่าโอกาสที่ตนเคยได้รับจากเจ้านายเก่า เป็นสิ่งที่มีค่ามาก เวลาที่เห็นพนักงานในโรงงานก็นึกย้อนไปถึงวันที่เราเคยเป็นลูกจ้างมาก่อน
ฉะนั้นจึงอยากจะให้ในสิ่งที่ตนเคยได้รับนั้นกลายเป็นโอกาสแก่พนักงานของตนบ้าง ซึ่งที่แน่ๆไม่ใช่เราให้เขาอย่างเดียว
วันหนึ่งที่เขาโตเขาก็อาจจะกลับมาเป็นคู่ค้ากับเราหรืออุดหนุนสินค้าเราได้อีกด้วย
ที่มา : smart sme
สุดยอด
ตอบลบ